37.4 C
Bangkok
วันอังคาร 23 เมษายน 2024

ประเภทของหนังสือเดินทางของประเทศไทย มีกี่แบบ? ( Passport )

One
Onehttp://www.bkkparttime.com/
เว็บรวมงานพาร์ทไทม์ ฟลูไทม์ จากบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ

เราทราบหรือไม่? ว่า หนังสือเดินทาง หรือ Passport เนี้ยมีอยู่หลายสีและหลายประเภทด้วยกัน ประเทศไทยของเรานั้นแบ่งหนังสือเดินทางออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ หนังสือเดินทางธรรมดา, หนังสือเดินทางราชการ, หนังสือเดินทางทูต, หนังสือเดินทางชั่วคราว ก่อนที่จะไปทำความรู้จักประเภทของหนังสือเดินทาง เรามาทำความรู้จักความหมายของพาสปอร์ตกันครับ

Passport คือ หนังสือเดินทางที่หน่วยงานราชการในประเทศนั้นๆ รับรองการเป็นประชาชนของตน เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ ภายในสมุดจะมีข้อมูลบอกว่าเรา ชื่ออะไร เป็นคนประเทศไหน รวมถึงข้อมูลตามบัตรประชาชน ต่อมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ “เฉพาะบุคคลสำคัญ” จึงแยกออกมาเป็น 4 ประเภท ตามข้อมูลด้านล่างนี้

หนังสือเดินทางธรรมดา

1. หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู)
• ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ปัจจุบันเราขยายอายุออกไปอีก 5 ปี รวมเป็น 10 ปี มีค่าธรรมเนียม 1,500 บาท (ด่วน 3,500 บาท)

หนังสือเดินทางราชการ

2. หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)
• หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ

หนังสือเดินทางทูต

3. หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)
ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
• พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
• พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
• พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
• ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
• นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
• ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
• ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
• ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
• อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
• ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
• ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
• ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการ- ศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
• คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
• บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

หนังสือเดินทางชั่วคราว

4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว) นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ
• หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
• หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น

More articles

- Advertisement -

Latest article