25.6 C
Thailand
วันพุธ 4 ธันวาคม 2024

Burnout Syndrome คืออะไร? แล้วภาวะซึมเศร้า เหมือนกันหรือต่างกัน

Recommend

One
Onehttp://www.bkkparttime.com/
เว็บรวมงานพาร์ทไทม์ ฟลูไทม์ จากบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ

Burnout Syndrome คืออะไร? ก่อนอื่นเราคงเคยได้ยิน ” ภาวะซึมเศร้า ” อาการเหลานี้อาจเกิดจากความเครียด หดหู่ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน หงุดหงิด ก้าวร้าว ร่างกายอ่อนแรง ไม่มีสมาธิ ฯลฯ ช้าก่อนอาการต่างๆ เหล่านี้อาจจะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดถึงภาวะซึมเศร้าได้อย่างชัดเจนเสียทีเดียว แต่…. คุณอาจจะกำลังอยู่ในภาวะหมดไฟ Burnout ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ ” ภาวะเหนื่อยล้าจากการทำงาน ” อาการเหล่าไม่ได้หมายความว่าจะต้องป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเสมอไป เพียงแต่มีความเสี่ยงมากที่จะเป็น ” โรคซึมเศร้า

ถ้าคุณรู้สึกหดหู่ เหนื่อย หมดแรง วิตกกังวลสูง ไม่มีความสุขในการทำงาน อารมณ์แปรปรวน คิดลบ ที่สำคัญรู้สึกไม่ชอบตนเองและมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเป็นการด่วน!!

Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเป็นโรคที่เป็นผลจากการความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ซึ่งควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางก่อนจะรุนแรงและคุกคามการใช้ชีวิต เพราะฉะนั้นการหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนและรู้เท่าทันโรคนี้จะช่วยให้รับมือได้อย่างถูกวิธีก่อนสายเกินไป

Burnout

รู้จักภาวะหมดไฟในการทำงาน
ภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงาน และไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งลักษณะอาการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1) ด้านอารมณ์
เบื่อ หดหู่ หงุดหงิด ซึมเศร้า สิ้นหวัง โมโหง่าย ขาดแรงจูงใจ และไม่พอใจในงานที่ทำ
2) ด้านความคิด
มองคนอื่นในแง่ลบแง่ร้าย โทษคนอื่นเสมอ ระแวง หนีปัญหา ไม่จัดการปัญหา สงสัยและไม่เชื่อในศักยภาพของตนเอง
3) ด้านพฤติกรรม
ผัดวันประกันพรุ่ง ขาดความกระตือรือร้น หุนหันพลันแล่น บริหารจัดการเวลาไม่ได้ ไม่อยากตื่นไปทำงาน มาสายจนผิดสังเกตติดต่อกัน ไม่มีสมาธิในการทำงาน ไม่มีความสุขในการทำงาน

วิธีจัดการภาวะหมดไฟในการทำงาน
• ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
• ยอมรับในความแตกต่าง
• ไม่ด่วนตัดสินใคร
• เปิดใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
• มองหาที่ปรึกษาที่รับฟังและแนะนำได้
• ร่วมกิจกรรมขององค์กร
• อย่าทำงานหักโหมเกินไป
• อย่าเอางานไปทำที่บ้าน
• ไม่นำปัญหาที่ทำงานสะสมไปที่บ้าน
• ลดความกดดันในการทำงาน
• รู้จักขอความช่วยเหลือและปฏิเสธอย่างเหมาะสม
• พักผ่อนให้เพียงพอ
• ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

อย่างไรก็ดีอาการ Burnout ที่ไม่รุนแรงสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเอง เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือกาแฟมากเกินไป และคุณควรลาพักผ่อนในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อปรับสมดุลของร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ อ้างอิงข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ

More articles

Latest article