Home Knowledge กินอาหารเร็ว เสี่ยงเป็นโรคมากกว่าคนกินปกติ เรื่องนี้จริงหรือไม่?

กินอาหารเร็ว เสี่ยงเป็นโรคมากกว่าคนกินปกติ เรื่องนี้จริงหรือไม่?

กินอาหารเร็ว เสี่ยงเป็นโรคมากกว่าคนกินปกติ เรื่องนี้จริงหรือไม่?

กินอาหารเร็ว เสี่ยงเป็นโรคมากกว่าคนกินปกติ เรื่องนี้จริงหรือไม่? เรามีคำตอบ ก่อนอื่นอยากพูดถึงว่าทำไมต้องเร่งรีบกันขนาดนั้น!! เพราะปัจจุบันเรามีความกลัวเป็นแรงพลักดัน แล้วเรากลัวอะไร? กลัวเข้างานไม่ทันเพราะรถติดจึงต้องตื่นแต่เช้า ข้าวเอาไว้ไปกินบนรถหรือที่ทำงานก็ได้ กลัวทำงานเสร็จไม่ทันนาย จึงต้องรีบกินข้าวแล้วกลับไปปั่นงานต่อ จากความเร่งรีบในทุกๆ วัน กลายเป็นอุปนิสัยที่สร้างผลกระทบต่อร่างกาย

การกินเร็ว หมายถึงอะไร? คือการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด เคี้ยวไม่กี่ครั้งก็กลืนทันที เร่งรีบกินให้เสร็จ บางครั้งแทบไม่เคี้ยวกลืนเลยก็มี การที่บดเคี้ยวน้อยก่อนกลืนจะทำให้กระเพาะอาหารใช้เวลาย่อนนานเกินไป จึงทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และเสี่ยงต่อโรคอ้วน โรคกรดไหลย้อน และโรคเบาหวาน (แบบที่ 2)

โรคอ้วน
โรคอ้วน

โรคอ้วน การกินเร็วเกินไป ทำให้เสี่ยงต่อการเป็น โรคอ้วน เพราะการที่เรากินเร็วทำให้ร่างกายยังไม่ทันรับรู้ว่ามีอาหารเข้ามาแล้ว ทำให้ไม่ทันได้ยับยั้งอาการหิว ทำให้เรากินเกินอิ่ม รับแคลอรี่มากเกินต้องการ

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน เกิดจากการที่เรากินอาหารมากๆ โดยไม่เคี้ยวให้ละเอียดทำให้กระเพาะอาหารย่อยไม่ทัน เมื่อมีอาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ จึงทำให้มีโอกาสที่กรดมันไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร

เบาหวาน

เบาหวาน เป็นผลเกิดอย่างต่อเนื่องของร่างกายที่รับแคลอรี่มากเกินต้องการ ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินให้เพียงพอต่อความต้องการได้ จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน (แบบที่ 2) ง่ายกว่าปกติ 2 เท่า

จากการวิจัยลิทัวเนียได้พบว่าผู้ป่วยเบาหวานจำนวนหนึ่งกินอาหารเร็วกว่าปกติ เมื่อเทียบกับคนปกติธรรมดา หัวหน้าคณะนักวิจัย ดร.ไลนา รัดเซวิเซียน กล่าวว่า ยอดผู้ป่วยเบาหวานแบบที่ 2 สูงขึ้นทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นโรคระบาดของโลกไปแล้ว จึงจำเป็นต้องค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรค เพื่อลดโอกาสที่จะเป็นโรคให้น้อยลง

Exit mobile version