34.5 C
Bangkok
วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

สาระพัดประโยชน์จากใบแปะก๊วย หรือ ตีนเป็ด (Ginkgo)

One
Onehttp://www.bkkparttime.com/
เว็บรวมงานพาร์ทไทม์ ฟลูไทม์ จากบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ

ใบแปะก๊วยหรืออีกชื่อหนึ่ง ตีนเป็ด (ในภาษาจีน) แปะก๊วย เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน มีสรรพคุณช่วยป้องกันสารอนุมูลอิสระ ช่วยระบบหมุนเวียนเลือด โรคความจำเสื่อม และช่วยบรรเทาโรคที่เกิดจากเบาหวาน อาทิเช่น โรคเบาหวานขึ้นตา

สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันจอตาเสื่อมจากเบาหวานหรือ “ภาวะเบาหวานขึ้นตา” จากการทดลองพบว่าหากให้ผู้ป่วยเบาหวาน และมีอาการทางตา เช่น การรับสีผิดเพี้ยนไป กินสารสกัดแปะก๊วยนาน 6 เดือน ปัญหาการมองเห็นสีดีขึ้น

ใบแปะก๊วย ยังทำหน้าที่ป้องกันสารอนุมูลอิสระช่วยบรรเทาโรค ลดภาวะต่างๆ ที่มักพบได้ในคนชรา มีประโยชน์ในการรักษา โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ รวมทั้งอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน และภาวะหลังหมดประจำเดือนอีกด้วย เกี่ยวกับภาวะบกพร่องของสมองในส่วนซีรีบรัมนั้น ในประเทศเยอรมนีมีการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่เรียกว่า กิงโกไบโลบา มาใช้บำรุงผู้ป่วยที่บกพร่องในโรคนี้ ซึ่งในปี 1980

มีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องเรื้อรังของสมองส่วนซีรีบรัมและหลอดเลือดพบว่า ใบแปะก๊วยช่วยให้มีการพัฒนาการทางความจำ ความคิด นอนหลับได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นในสหรัฐอเมริกาใบแปะก๊วยก็ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นยารักษาอาการดังกล่าวโดยมีการทดลองในปี 1994 ทดลองให้ใบแปะก๊วยกับกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่าผู้ป่วยมีความจำและสาธิได้ดีขึ้น

สาระพัดประโยชน์จากใบแปะก๊วย

สำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะทางจิตก็พบว่ามีความจำและสมาธิดีขึ้นเช่นกันเมื่อรับประทานใบแปะก๊วยเข้าไป นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหากาเกี่ยวกับดวงตา ใบแปะก๊วยก็ยังช่วยให้มีความเร็วในการตอบสนองทางดวงตามากขึ้น โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปรกติของเส้นเลือดดำนั้น มีการทดลองขึ้นในปี 1998 โดยให้ผู้มีอาการปวดหลังจากการเดิน รับประทานแล้วพบว่าใบแปะก๊วยมีส่วนช่วยลดอาการปวดได้จริง ทั้งยังทำให้เดินได้มรระยะทางไกลขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงยังมีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อเข้าไปเลี้ยงแขนขาได้ดีขึ้นอย่างมาก

ส่วนที่เกี่ยวกับสภาวะการหายใจนั้น ในปี 1996 ได้มีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันผู้ที่มีอาการ AMS (Asthma & Acute Mountain Sickness) หรือภาวการณ์ผิดปรกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูงได้ ส่วนคนในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาหูอื้ออยู่เป็นประจำ การรับประทานอาหารใบแปะก๊วยยังช่วยลดภาวะหูอื้อลงได้อีกด้วย

สรรพคุณจากเมล็ดแปะก๋วย
• ลดระดับคอเลสเตอรอล
• ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
• มีวิตามินและแร่ธาตุสูง
• แคลอรีต่ำ
• ช่วยอาการโรคซึมเศร้า
• ช่วยอาการโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม
• เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ
• บรรเทาอาการโรคเรย์นาร์ด
• บรรเทาอาการเบาหวานขึ้นตา
• บรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน
• บรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง

แม้ว่า แปะก๊วยจะมีสรรพคุณและประโยชน์มากมาย แต่เมื่อเอามาสกัดสรรพคุณทางยาแล้วถือว่าเป็นยาอันตรายชนิดหนึ่ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้ระบุข้อกำหนดในการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย ไว้ด้วยดังนี้
➤ สารสกัดจากใบแปะก๊วยจัดเป็นยาอันตราย ต้องขายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน และไม่ให้มีการโฆษณาสรรพคุณต่อสาธารณะ
➤ ในการใช้สารสกัดแปะก๊วยเป็นยาแผนปัจจุบัน จะต้องมีข้อบ่งใช้สำหรับผู้ที่เป็นโรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ รวมทั้งโรคของหลอดเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังผิดปกติ โดยให้รับประทาน 40 มิลลิกรัม วันละ 3-4 เม็ด
➤ ในการใช้สารสกัดแปะก๊วยเป็นยาแผนโบราณ ให้ขึ้นทะเบียนในลักษณะผสมกับสมุนไพรตัวอื่นๆ ว่ามีสรรพคุณบำรุงร่างกาย และอนุญาตสรรพคุณของตำรับเป็นยาบำรุงร่างกาย
➤ ในการใช้สารสกัดแปะก๊วยเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จะต้องได้รับใบสำคัญการใช้ฉลากอาหาร โดยอนุญาตเฉพาะที่มีขนาดรับประทานไม่เกินวันละ 120 มิลลิกรัม และจะต้องไม่ระบุสรรพคุณใดๆ ในการบำบัดรักษาโรค

ทุกสิ่งล้วนมีคุณและโทษหากเรานำมาใช้อย่างเหมาะสมก็เป็นคุณอนันต์

More articles

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisement -

Latest article